ถ้าถมดินก่อนปลูกบ้านไว้ไม่นานพอ เช่น ไม่ถึง 1 เดือน แล้วทำการก่อสร้างบ้านบนที่ดินดังกล่าวจะมีปัญหาอะไรหรือไม่
ก่อนอื่นต้องทราบว่าก่อนว่าสร้างบ้านแบบลงเสาเข็ม หรือ แบบไม่ลงเสาเข็ม
กรณีเป็นแบบลงเสาเข็ม และมีการตอกเสาเข็มจนถึงชั้นดินแข็ง ( ตอกจนตอกลงลึกไปอีกไม่ได้ ) น้ำหนักอาคารทั้งหมดจะอยู่บนเข็ม ดังนั้นเรื่องดินถมจึงไม่มีผลกับโครงสร้างอาคาร
แต่อาจมีปัญหาเรื่องอื่นแทน เช่น เวลาต่อมาดินถมทรุดตัวลงไปอีกมาก ก็จะมีโพรงเกิดขึ้นใต้พื้นอาคารชั้น 1 ซึ่งอาจมองเห็นได้ว่าไม่สวยงาม หรือ อาจมองไม่เห็น แต่จุดดังกล่าวก็อาจมีปํญหามีน้ำเข้าไปขัง หรือมีสัตว์เข้าไปอาศัยอยู่
กรณีเป็นแบบลงเสาเข็มสั้น หรือ ไม่ลงเสาเข็ม น้ำหนักของอาคารทั้งหมดจะตั้งอยู่บนดิน เมื่อดินถมไว้ไม่นานพอ ทำให้น่าจะมีการทรุดตัวได้อีกมาก โครงสร้างอาคารก็จะเคลื่อนไปตามดินที่ทรุดลงไป และเมื่อมีการทรุดของดินในแต่ละส่วนของพื้นที่ที่แตกต่างกัน โครงสร้างของอาคารที่เป็นระนาบแนวนอนก็จะเอียงและอาจแตกร้าว หรือหักได้
การป้องกัน
การถมดินที่สมควรทำ คือ การถมดินแล้วให้ทำเกิดการทรุดตัวลงน้อยที่สุด
วิธีคือ
ใช้ดินที่มีความแข็ง แห้งและมีน้ำผสมอยู่น้อยสำหรับถม
มีการใช้ทรายผสมเพื่อถมในส่วนที่เป็นหลุมบ่อ เพราะเม็ดทรายจะแทรกตัวได้ดี
ที่ผิวหน้าควรมีการใช้ดินลูกรัง เพราะความหนาแน่นของดินสูง
เมื่อถมดินแล้วควรมีการบดอัดดินถมด้วยรถบด
ถ้ามีเวลา ควรปล่อยดินถมทิ้งไว้ (นานเท่าที่รอได้) และทำการถมดินเพิ่มและบดอัดเพิ่มอีก
การแก้ไข
กรณีสร้างบ้านไปแล้ว แบบลงเสาเข็มสั้น หรือ ไม่ลงเสาเข็ม โดยไม้ได้มีการถมดินที่ดี
วิธีการแก้ไข คือ การทำให้ดินถมใต้บ้านมีความแน่นเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการทรุดตัวน้อยลง ซึ่งมักทำกันโดยการฉีดน้ำปูนซีเมนต์เข้าไป หรือ แม้แต่การแทงเข็ม คสล. เข้าไป
สำหรับอาคารที่โครงสร้างได้เสียหายไปแล้ว จะต้องมีการทำการซ่อมแซมโครงสร้าง และดีดอาคารขึ้นก่อนการปรับให้ดินแน่นขึ้น
สำหรับวิธิการแก้ไขทุกวิธี จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรก่อนการดำเนินการ
อ่านเพิ่มเรื่องการถมดิน
" อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า "
พุทธวจน
Comments