อลูมิเนียมคอมโพสิท หรือ อลูมิเนียมคอมโพสิต คือ ?
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิทเป็นส่วนประกอบของงานอลูมิเนียม แคลดดิ้ง
การทำอลูมิเนียมแคลดดิ้งโดยใช้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต จัดอยู่ในหมวดงานผนังเบา
Aluminium Cladding ( อลูมิเนียม แคลดดิ้ง )หมายถึง การหุ้มผิวผนังอาคารด้วยการใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมเป็นหลัก เช่น แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิท, เกล็ดอลูมิเนียม...ฯลฯ
โดยทั้งอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และ อาคารโครงสร้างเหล็ก ก็สามารถใช้อลูมิเนียม แคลดดิ้งได้ ( ที่จริงอาคารโครงสร้างไม้ ก็ทำได้ เพียงแต่ยังไม่เคยเห็น...? )
การทำอลูมิเนียม แคลดดิ้ง ไม่สามารถติดตั้งตัวแผ่น ( ผิว,เปลือก, แผง...)ของมันเข้าที่โครงสร้างได้โดยตรง โดยจำเป็นต้องมีโครงสร้างหรือกรอบของมันอีกทีก่อนยึดมันเข้ากับโครงสร้างหลัก ทั้งเพื่อเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เพิ่มจุดยึดติด และ เพื่อการปรับระดับ
โครงสร้างหรือกรอบมักใช้เหล็กกล่องขนาดเล็ก เช่น 1x1 นิ้ว, 1x2 นิ้ว, 2x2 นิ้ว...ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะห่างของโครง และการคำนวนของวิศวกรโครงสร้างเป็นสำคัญ
Aluminium Composite Panel หรือ แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิท หรือ ACP เป็นวัสดุก่อสร้างในหมวดที่เรียกว่า A Sandwich Panel
A Sandwich Panel แต่เดิมถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานอาคารสูง ที่ต้องการแผงอาคารที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา โดยการออกแบบโครงสร้างของ A Sandwich Panel นั้นเลียนแบบมาจากโครงสร้างของเหล็ก i-Beam
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต ( Aluminium Composite Panel ) มีมากมายหลายผู้ผลิต โดยแต่ละผู้ผลิตก็จะออกแบบตัว Sandwich Panel ให้มีส่วนผสมที่แตกต่างกันออกไป แต่พอสรุปได้โดยทั่วไป คิอ มีผิวที่ด้านนอก ( Skin Layer )ทัง 2 ด้านเป็นแผ่นอลูมิเนียม ( Aluminium Sheet ) และมีแกนด้านใน ( Core )
เป็นวัสดุอื่นที่ไม่ใช่อลูมิเนียมเพื่อให้มีน้ำหนักเบาและราคาถูกลง เช่น โพลีเอทิลีน ( PE ) หรือ โพลียูรีเธน PUR หรือ แกนแร่...เป็นต้น
ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต
เลือกขนาดความกว้างยาวของแผ่น ให้เหมาะสมกับขนาดของรูปด้านของอาคาร เช่น การเลือกความยาวของแผ่นให้เหลือเศษตัดทิ้งน้อย...ฯลฯ
เลือกความหนาของแผ่น และความหนาของผิวอลูมิเนียม ( Skin Layer ) ให้เหมาะสมกับอายุของโครงการที่ต้องการใช้งาน เช่น เลือกใช้แผ่นหนา 3 มิลลิเมตร ผิวหนา 0.20 มิลลิเมตร สำหรับงานบู๊ทแสดงสินค้าชั้วคราว...ฯลฯ
เลือกใช้ผิวอลูมิเนียม ( Skin Layer ) ที่ทำจากแผ่นอลูมิเนียมเกรด 3105 H14 ( เข้าใจว่าผู้ผลิตเกือบทุกรายใช้เกรดนี้อยู่แล้ว )
เลือกระบบการทำสีที่ผิวของผู้ผลิต ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น เลือกใช้แผ่นทีทำสีด้วยระบบ PVDF หรือ FEVE สำหรับงานภายนอกอาคาร
เลือกชนิดของแกนกลางของแผ่น ( Core ) ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น เลือกใช้ไส้กลางแ่ทนไฟ ( Fire Retadant / FR ) สำหรับงานอาคารสูง
เลือกการได้การรับรองมาตรฐานในส่วนต่างๆของแผ่น ให้เหมาะกับข้อกำหนดของโครงการ เช่น การผ่านมาตรฐาน NFPA285 สำหรับงานอาคารสาธารณะ
เลือกการรับประกัน และอายุการรับประกันที่เหมาะสม กับโครงการ
เลือกราคาที่เหมาะสม
ข้อควรระวังภายหลังการติดตั้ง
เมื่อติดตั้งแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิทแล้วเสร็จ ควรรีบนำสติกเกอร์ปิดผิวออกโดยเร็ว เนื่องจากกาวของสติกเกอร์ปิดผิวเมื่อโดนแดด อาจลอกออกได้ยาก ( สอบถามผู้ผลิต )
การดูแลรักษา
ทำความสะอาดใหญ่ปีละ 2-3 ครั้ง
ใช้ผ้านุ่มในการล้างทำความสะอาด ไม่ใช้แผ่นฝอย ใยขัดที่ทำให้ผิวเกิดรอยได้
ไม่ใช้สารทำความสะอาดที่เป็นกรด อาจใช้นำ้ยาหรือครีมที่ใช้ล้างรถยนต์ ( สอบถามผู้ผลิต )
รูปแบบที่เป็นไปได้ ในการแบ่งตัดแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตขนาดมาตรฐาน เพื่อการใช้งานโดยให้ไม่มีเศษแผ่นเหลือทิ้ง
การเลือกขนาดความกว้างยาวของแผ่น ให้เหมาะสมกับขนาดของรูปด้านของอาคาร ก็จะทำไม่มีเศษแผ่นเหลือทิ้ง หรือ เหลือเศษน้อยได้
เลือกความหนาของ Aluminium Sheet ส่วน Skin Layer ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
และเลือกชนิดของ Core หรือ แกนกลางแผ่น ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ลักษระโครงสร้างของระบบการทำสีแบบ PVDF บนแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต
ภาพงานก่อสร้างอลูมิเนียมแคลดดิ้งโดยใช้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต โครงการก่อสร้างโชว์รูมรถยนต์เบนซ์ บีเคเค ออโตเฮาส์ กาญจนาภิเษก โดย บริษัท แอลดีเอ อินเตอร์ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด
ในภาพมีการรีบนำสติกเกอร์ปิดผิวออกโดยเร็ว เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ เนื่องจากกาวของสติกเกอร์ปิดผิวเมื่อโดนแดด อาจลอกออกได้ยาก แต่อาจจะคงเหลือไว้เฉพาะส่วนที่ยังอาจเกิดรอยขีดข่วนขณะทำการส่งมอบงานแล้วเสร็จ
#วัสดุก่อสร้าง
"อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"
พุทธวจน
Comentarios