งานตกแต่งภายในและเฟอนิเจอร์โดยทั่วไป จะมีสารฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นส่วนประกอบหรือเป็นสารตกค้างในวัสดุตกแต่ง เช่น ผ้าม่าน(Curtain,Blind), ผ้าบุ(Upholstery), หนัง(Leather), ฉนวนกันความร้อน(Insulation), สีทาบ้าน(Emultion Paint), สีสำหรับงานเฟอนิเจอร์ (Woodstain, Lacquer, Thiner, Vanish, Polyurethane ),ไฟเบอร์กลาส(Fibreglass ), พรมปูพื้น (Carpet), และเฟอนิเจอร์ไม้ที่มีส่วนประกอบเป็น ไม้อัด (Plywood) แผ่นใยไม้อัดประสานด้วยกาว (MDF Board หรือ Medium Density Fiber Board, Particle board ) “ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์” ทั้งสองตัวนี้ในทางเคมีคือสารตัวเดียวกัน เมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า “ฟอร์มาลีน”และเมื่อเป็นก๊าซจะเรียกว่า“ฟอร์มัลดีไฮด์” สารฟอร์มัลดีไฮด์ที่อยู่ในวัสดุตกแต่งภายในและเฟอนิเจอร์นั้น อาจปล่อยสารระเหยที่เป็นพิษออกมาในบ้านของเราได้นานนับสิบปี ผู้ที่สูดดมสารระเหยฟอร์มัลดีไฮด์ จะมีอาการอาการเฉียบพลัน คือ แสบตาและระคายเคืองในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการอักเสบ มีอาการไอ แน่นหน้าอกหอบคล้ายเป็นหืด อาจถึงขั้นเป็นปอดอักเสบ หรือปอดบวมน้ำเฉียบพลัน และในระยะยาวจะมีอาการพิษเรื้อรัง ซึ่งทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายระบบหายใจ จนทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้และหอบหืด นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระดูและระบบการเจริญพันธุ์ด้วย ปี ค.ศ.2010 สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศแถบยุโรป ได้กำหนดวัสดุที่มีส่วนประกอบของสารฟอร์มัลดีไฮด์ ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยเรียงลำดับกลุ่ม (Formaldehyde Emission Class) ตามจำนวนการปนเปื้อนของสารฟอร์มัลดีไฮด์ กลุ่มที่เรียกว่า Class E5 มีการปนเปื้อนสูงสุด และลดการปนเปื้อนลงไปจนถึง Class E0 ( คลาส อีซีโร่) ซึ่งมีการปนเปื้อนไม่เกิน 0.03 mg ต่อไม้ 100g และในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่กล่าวมาข้างต้น อนุญาตให้มีการใช้หรือนำเช้าวัสดุที่มีส่วนประกอบของสารฟอร์มัลดีไฮด์ที่อยู่ใน Class E0 เท่านั้น การหลีกเลี่ยงหรือลดอันตรายจากสารระเหยฟอร์มัลดีไฮด์ภายในอาคาร อาจทำได้โดย
1. เลือกใช้วัสดุที่ผลิตโดยไม่ใช้ฟอร์มัลดีไฮด์ กาว หรือสารฟอกสี เช่น ไม้จริง, ผ้าใยธรรมชาติที่ไม่ได้ย้อมสี(Organic Fabric), สีสูตรน้ำ(Water Based Paint), สีที่ปราศจากสารระเหย( Non-Toxic,Low VOC)
2. ถ้าต้องเลือกใช้วัสดุที่มีฟอร์มัลดีไฮด์ ให้เลือกใช้วัสดุที่อยู่ใน Class E0 หรืออย่างน้อยก็ E1
3. ยกเลิกการใช้วัสดุบางอย่างและใช้วัสดุทดแทนอื่นๆหรือไม่ต้องใช้เลย เช่น ฉนวนกันความร้อน,ไฟเบอร์กลาส, พรมปูพื้น, วอลล์เปเปอร์
4. ทำให้บ้านมีอากาศถ่ายเทอย่างสม่ำเสมอ
5. ปลูกต้นไม้ที่มีความสามารถในการดูดสารพิษได้ดีไว้ในบ้าน เช่น บอสตันเฟิร์น, ควีนคิมเบอร์รี่เฟิร์น ,เบญจมาศ, เก็กฮวย, เยอบีร่า, สิบสองปันนา, ซุ้มกระต่าย, ปาล์มไผ่, ต้นยางอินเดีย, อิงลิชไอวี่, ไทรย้อยใบแหลม, เดหลี
6.วางใบชาเขียวหรือใบชาดำ (ที่ใช้แล้วก็ได้) ไว้ในที่อับหรือปิด ใบชาจะช่วยดูดสารพิษได้ สำหรับประเทศไทยนั้น วัสดุตกแต่งภายในและเฟอนิเจอร์ที่อยู่ใน Class E0 หรือปลอดสารฟอร์มัลดีไฮด์ หาได้ยากมาก ได้ลองหาดูพบว่ามีอยู่เพียงไมกี่รายเท่านั้น อันได้แก่
Kokoboard ผู้ผลิตไม้อัดจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรพวก ฟางข้าว ขุยใยมะพร้าว หญ้าคา หญ้าแฝก วนชัยกรุ๊ป ผู้ผลิตแผ่นไม้ปาร์ติเกิ้ล (เฉพาะบางรุ่น) แปลนทอยส์ ผู้ผลิตของเล่นเด็ก บริษัทผู้ผลิตสีชั้นนำ เช่น TOA,Jotun,ICI,Beger ผู้ผลิตสีสูตรน้ำ(Water Based) ไร้สารระเหย(Low VOC) (เฉพาะบางรุ่น)
กลุ่มสหกรณ์กรีนเนท ผู้ผลิตผ้าฝ้ายธรรมชาติที่ทอจากเส้นใยพืชที่ปลูกโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ สวนเงินมีมา ผู้ผลิตผ้าธรรมชาติที่ทอจากเส้นใยพืชที่ปลูกโดยวิธีเกษตรอินทรีย์
" อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า "
พุทธวจน
Comentarios