การเลือกซื้อเหล็กเส้น วิธีการตรวจสอบเหล็กเส้น
- บ้านสวนสบาย
- 4 เม.ย.
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 8 เม.ย.
การเลือกซื้อเหล็กเส้น การเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม การเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อย วิธีการตรวจสอบเหล็กเส้นกลม วิธีการตรวจสอบเหล็กข้ออ้อย วิธีการตรวจสอบเหล็กเส้นว่าเป็นเหล็กเส้นที่ดี มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน มอก.

ตรวจสอบที่ป้ายสินค้า บนป้ายหรือTag จะต้องมี ชื่อบริษัท, ประเภทสินค้า (Type), ชั้นคุณภาพ (Grade), ขนาด (Size), ความยาว (Length), จำนวนเส้นต่อมัด (PSC: Bundle), เลขที่เตาหลอม (Batch, Head), วัน/เวลาที่ผลิต (Date/ Time), เครื่องหมายและเลขที่ มอก.
ตรวจสอบเอกสารกำกับสินค้า
ตรวจสอบตัวอักษรตัวนูนบนเส้นเหล็ก ต้องมีชื่อเครื่องหมายการค้า ( เช่น SCG, TATA, BSBM...), ขนาด ( เช่น RB9, DB20...), ชั้นคุณภาพ ( เช่น SR24, SD40 ), เครื่องหมาย "T" ( ถ้ามี ), เครื่องหมาย "S " ( ถ้ามี ) และกระบวนการผลิต ( EF, IF )
เปรียบเทียบน้ำหนัก มอก. โดยสุ่มตัดเหล็กเส้น 2 ถึง 3 ตัวอย่าง ให้มีความยาวชิ้นละ 1 เมตร แล้วนำมาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับน้ำหนักที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน มอก. ( มาตรฐานเหล็กเส้นกลม มอก.20-2559, มาตรฐานเหล็กข้ออ้อย มอก.24-2559 )
ตรวจลักษณะผิวภายนอกเหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นกลมที่ดีผิวต้องเรียบ ไม่มีรูตามด ผิวไม่เป็นลอน
ตรวจลักษณะภายนอกเหล็กข้ออ้อย เหล็กข้ออ้อยที่ดี ต้องมีบั้งที่สูงสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีรูตามด
ตรวจหน้าตัด หน้าตัดของเหล็กเส้นต้องไม่บิดเบี้ยว
ตรวจการดัด เมื่อนำเหล็กเส้นมาดัดโค้ง ผิวต้องไม่ปริแตก
วิธีการที่เลือกซื้อเหล็กเส้น ให้ได้เหล็กเส้นที่มีคุณภาพ นอกจากการเลือกซื้อเหล็กเส้นที่ได้ มอก. และตรวจสอบตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว การเลือกซื้อเหล็กเส้นจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง เช่น SCG, TATA Steel, BSBM, MILLCON ก็จะช่วยรับรองว่าจะได้เหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานสำหรับงานก่อสร้าง
ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง มาตรฐานเหล็กเส้น, เกรดของเหล็กเส้น, เครืองหมาย T, เครื่องหมาย S, เครื่องหมายกระบวนการผลิต EF / IF ได้จากบทความต่อไปของบ้านสวนสบาย
"อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"
พุทธวจน